ทางเว็บนำ 6 เทคนิค การตั้งชื่อนิยายให้โดนใจ โดย Part 1 นี้จะเป็นการเอากรณีศึกษาจากนิยายตะวันตกมาให้ดูกัน เผื่อว่าเป็นประโยชน์กับนักเขียนทุกคน แม้ว่าบริบทสังคมและรสนิยมการอ่านของคนไทยและคนตะวันตกจะแตกต่างกันพอสมควร แต่ถือว่าเทคนิคเหล่านี้มีความสากล และยังใช้งานได้
เพียงแต่บางอย่างก็อาจจะต้องปรับให้เข้ากับของไทยเราบ้าง มาดูกันเลย
1. ใช้ชื่อตัวละคร
สุดยอดเทคนิคคลาสสิก ที่ก็ใช้กันอยู่ประจำในนิยายตะวันตก ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง เช่น การเอาชื่อตัวเอกที่มีความเฉพาะตัวเป็นชื่อหนังสือ คนจดจำง่ายผ่านทางคาแรคเตอร์ตัวละคร
ตัวอย่างดังที่สุด เช่น Harry Potter, Matilda, Sherlock Holm
แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือ เทคนิคนี้จะทำให้นิยายของคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอกได้เลย โดยเฉพาะในกรณีที่มีการเขียนเป็นซีรีส์นิยายชุดหลายเล่ม มีกรณีของ เชอร์ล็อคโฮล์ม ที่ผู้เขียนคือเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ เคยเขียนให้นักสืบของเราตกน้ำตกไปพร้อมกับวายร้ายแล้ว แต่ด้วยความดังของเรื่องทำให้ต้องขุดเอาตัวเอกกลับมาเขียนใหม่แบบแถๆ
นอกจากนี้นิยายที่ใช้ชื่อตัวละครเป็นชื่อเรื่อง นั่นหมายถึงการเดินเรื่องมักต้องมีตัวเอกเป็นศูนย์กลางของเรื่อง ไม่สามารถเขียนสลับไปสลับมาได้ หรือถ้าทำแบบนั้น ตัวนิยายก็อาจจะถูกมองว่าออกทะเลหรือแก่นเรื่องไม่ชัดเจนไป
กรณีนิยายชุด แนวแอ็กชั่นสืบสวนของโลกตะวันตก ชอบใช้การตั้งชื่อตัวละคร ตามด้วยชื่อตอนต่างๆ เช่นนิยายชุด Jack Ryan ของ ทอม แคลนซี่ รวมถึงนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกอย่าง เจม แพเทอร์สัน ก็ใช้เทคนิคนี้กับนิยายชุด Alex Cross
2.ชื่อสถานที่
เทคนิคนี้ มีสองกรณีคือ เอาชื่อสถานที่จริงๆในโลกความจริงมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง แล้วผสมผสานเอาชื่ออื่นๆหรือการกระทำที่น่าสนใจเข้าไปด้วย และแบบที่สอง ที่นิยมใช้กันมากคือ สถานที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากจินตนาการของนักเขียนเอง
แต่การใช้เทคนี้นี้แปลว่า สถานที่นั้นต้องมีความสำคัญกับเรื่องราว เป็นหัวใจหลัก ตัวอย่างเช่น Dark Tower ของ สตีเฟ่น คิง, Dune ของ แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต, Howl’s Moving Castle ของ Diana Wynne Jones
3.ชื่อคำสั้นๆ ชวนเป็นปริศนา
เป็นกลยุทธ์คลาสสิกที่ดูเหมือนง่าย แต่บอกเลยว่า ไม่ง่าย แต่ถ้าคุณทำได้สำเร็จ ชื่อนั้นจะขลังมากชนิดที่ไม่มีใครกล้าตั้งทับ และคนจดจำได้อีกนาน
ซึ่งความยากของมันอยู่ที่ การใช้คำสั้นๆ แค่ 1-3 พยางค์แต่ต้องสื่อความหมายหรือนัยยะของเรื่องได้ และดึงดูดให้น่าอ่าน แต่ชื่อนั้นต้องไม่หลุดจากแก่นเรื่อง ซึ่งคำนั้นจะเป็น คำนาม กริยา ก็ได้หมด
ตัวอย่างแนะนำเช่น The Witcher ของ Andrzej Sapkowski, IT ของ สตีเฟ่น คิง, The Notebook ของ นิโคลัส สปาร์ค
4.ผสมคำ
นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้เทคนิคในการผสมผสานคำให้ออกมาดูน่าสนใจได้
ซึ่งเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเทคนิคที่นิยมใช้มากที่สุดตลอดกาล คอนเซปต์คือการเอาคำที่มักดูแล้ว ไม่น่าเกี่ยวข้องกัน มาผสมกันจนเกิดคำใหม่ ซึ่งมักชวนให้รู้สึกสงสัย ลึกลับซับซ้อน หรือมีสีสันฉูดฉาด ตามแต่สไตล์เรื่อง
ตัวอย่างเช่น Gone with the Wind ของ มากาเร็ต มิทเชล, To kill a mockingbird ของ ฮาร์เปอร์ ลี, Gone Girl ของ จิลเลียน ฟลินน์, Crazy Rich Asians ของ เควิน กวาน
หรือกระทั่งชื่อมังงะและอนิเมะดังอย่างพวก Dragon Ball, Spirited Away และ Death Note ก็ใช้เทคนิคนี้อย่างได้ผลดีเลิศเอามากๆ ชนิดที่ไม่มีใครกล้าตั้งชื่อเลียนแบบอีกเลย
5.ชื่อคนหรือสถานที่มีจริงในประวัติศาสตร์
เป็นเทคนิคที่มักใช้กันสำหรับนิยายแนวสืบสวน ลึกลับ ไซไฟ มักเอาสถานที่จริงหรือบุคคลที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาใส่ในชื่อเรื่อง
ตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดเห็นจะไม่พ้น Davinci’s Code ของ แดน บราวน์ และยังมีตัวอย่างอื่นๆ เช่น Married for the Greek's Convenience ของ มิเชล สมาร์ท, A Dream of Italy ของ Nicky Pellegrino
6.ตัวเลข บอกเวลา
เทคนิคนี้ นิยายไทยแทบไม่เคยมีใครใช้ แต่นิยายต่างประเทศใช้กันเยอะมาก และบางเรื่องถึงขั้นเป็นนิยายชื่อดังคลาสสิกชนิดที่พบอกตัวเลขไปแล้วมันสื่อนัยยะบางอย่างที่แข็งแกร่งสุดๆเลย
ตัวอย่างคลาสสิกที่สุด เช่น 1984 ของ จอร์จ ออร์เวล